วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมท่องเที่ยว

กิจกรรมท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต.น้ำเชี่ยวจัดตั้งขึ้นประมาณต้นปี 2549 ณ.หมู่ 1บ้านท้ายเขา ต.น้ำเชี่ยว มีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วย

1.สะพานชมธรรมชาติ 
2.หอดูนก 
3.ล่องเรือเล็กชมวิถีชีวิตชาวประมง เช่นการถีบกระดานเก็บหอยแครง/แมลงภู่ การเลี้ยงปลาในกระชัง การดำหอยปากเป็ด การเลี้ยง หอยนางรม 
4.พักโฮมเสตย์ 5.ล่องเรือชมหิ่งห้อย 
5.ชมสาทิตการทำงอบใบจาก 
6.ชมสาทิตการทำน้ำตาลชัก 
7.ชมวิถีชีวิตชาวพุทธและมุสลิมที่อยู่กันแบบสันติ 8ลงเรือใหญ่ฯลฯ

โปรแกรมท่องเที่ยว 
1.กิจกรรม - ล่องเรือชมธรรมชาติป่าชายเลน ตกปลาน้ำตื้น 
เวลาเช่าเรือเล็ก (ไม่เกิน 5 คน)  เรือกลาง (ไม่เกิน 20 คน) 
- ไม่เกิน 1 ชั่วโมง 
- ชั่วโมงต่อไป ชั่วโมงละ 
- เช่าเหมา 1 วัน (ค้างคืน)
                      

ผลิตภัณฑ์ชุมชน




ผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำเชี่ยว

1.งอบน้ำเชี่ยว เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์อันเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษชาวตราด  ที่ได้สืบทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง   ใส่เพื่อกันแดดกันฝน   หรือตบแต่งบ้านเรือน ปัจจุบันมีการพัฒนารูปทรงที่หลากหลายยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับการสวมใส่หรือเป็นของที่ระลึก เพราะเน้นความประณีต สวยงาม มีน้ำหนักเบา และมีหลายรูปแบบ ให้เลือกตามความต้องการ  โดยใช้ใบจากที่หาได้ไม่ยาก จากป่าชายเลนใกล้ชุมชน งอบน้ำเชี่ยวนั้นถือได้ว่าเป็นสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของชุมชนแห่งนี้ โดยจะมีด้วยกัน 5 ทรง คือ ทรงกระทะคว่ำ, ทรงกระดองเต่า, ทรงยอดแหลมหรือทรงหัวแหลม, ทรงสมเด็จ, ทรงกะโหลก 
2. ตังเมกรอบ หรือคนสมัยก่อนเรียกว่า  “ขนมน้ำตาลชัก” เป็นขนมหวานที่มีแหล่งผลิตดั้งเดิมอยู่ที่บ้านน้ำเชี่ยว มีรูปร่างคล้ายแท่งไม้แห้ง สีน้ำตาลอ่อน เป็นขนมหวานสำหรับทานเล่น รสชาติหวานมัน กรอบอร่อย เนื่องจากใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ สด สะอาดเป็นที่ชื่นชอบ ของผู้คนที่ได้ชิมลิ้มรส   ท่านใดได้ชิมแล้วต้องติดใจแน่นอน  หากท่านสนใจติดต่อ ประธานกลุ่ม ก.ไก่ ตังเมกรอบ คุณปรานี ภูมิมาโนช 09-9879140


บ้านน้ำเชี่ยว



บ้านน้ำเชี่ยว สถานที่ท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตั้งอยู่ใน ต.น้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นหมู่บ้านในเส้นทางผ่านไป ขึ้นเรือสู่เกาะช้าง หมู่บ้านน้ำเชี่ยวแห่งนี้ ยังได้เป็นรับเลือกให้เป็น “หมู่บ้าน OVC” (OTOP Village Champion) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมถึงรางอุตสาหรรมท่องเที่ยวไทยดีเด่นจากากรท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บ้านน้ำเชี่ยวมี พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนิด อยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เดิมทีประชากรของตำบลน้ำเชี่ยว เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธ ต่อมามีพ่อค้าชาวจีนล่องเรือสำเภามาค้าขายสินค้าที่ท่าเรือบ้านน้ำเชี่ยว และได้ตั้งรกรากอยู่ที่นี่ ทำให้ชาวน้ำเชี่ยวส่วนหนึ่งเป็นคนไทย เชื้อสายจีน และในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีชาวมุสลิมซึ่งเรียกตัวเองว่า “แขกจาม หรือ จำปา” อพยพหนีสงครามมาจากประเทศเขมร   มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ริมคลองน้ำเชี่ยว และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวพุทธและมุสลิมสามารถแต่งงานข้ามศาสนาได้   ซึ่งพี่น้องทั้งสอง ศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันในตำบลน้ำเชี่ยวอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์อันดีตลอดมา ที่มาของชื่อชุมชน “น้ำเชี่ยว” มาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ อยู่ติดทะเล มีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นจำนวนมาก มีคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน ซึ่งคลองนี้มีต้นกำเนินอยู่ที่เขาวังปลา อยู่ระหว่างอำเภอแหลมงอบและอำเภอเมืองตราด เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในคลองจะไหลเชี่ยวมาก ชาวบ้านจึงเรียกว่า “คลองน้ำเชี่ยว” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านน้ำเชี่ยวลงสู่ทะเลอ่าวไทยทางใต้ที่บ้านปากคลอง ตำบลหนองโสน อำเภอเมืองตราด ซึ่งชาวบ้านใช้เป็นแหล่งประมง พื้นบ้านและใช้เป็นเส้นทางออกทะเลเพื่อทำการประมงจนถึงปัจจุบันชาวตำบลน้ำเชี่ยวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมง ทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และค้าขาย
อ้างอิง http://www.paiduaykan.com/province/east/trat/baananmcheaw.html